บันทึกรุ่งอรุณ,  ผลงานนักเรียน,  โรงเรียนมัธยม,  โรงเรียนรุ่งอรุณ

เทศกาลละคร ชั้น ม.๒-เรียนรู้การทำเพื่อผู้อื่น

IMG_5219
“สมชาย” เรื่องราวของชายผู้ถูกครอบงำด้วยคำว่ารวยและความโลภ โดยนักเรียนชั้น ม.๒/๑

“ละครในภาษาอังกฤษคือ Play คือการเล่น ขอให้เราเล่นละคร ลืมคำว่า Show โลกของละครไม่มีคำว่า Show มีแต่คำว่าเล่น เรามาเล่นละครกัน เล่นแปลว่าต้องสนุก สนุกกับการแก้ปัญหา สนุกกับการช่วยเหลือเพื่อน สนุกกับการเป็นตัวละครตัวนั้น อะไรที่เป็นปัญหา ลืมให้หมด อยู่กับการเผชิญหน้า อยู่กับ Here and Now อยู่กับปัจจุบัน สิ่งที่เราต้อง Take care คือคนดูเท่านั้น เมื่อไรก็แล้วแต่ที่เรา Take care ตัวเอง เราจะกลายเป็นศิลปินที่เห็นแก่ตัว โลกนี้คนเห็นแก่ตัวมีเยอะแล้ว เราลองไม่คิดถึงตัวเอง มาคิดถึงเพื่อน คิดถึงโปรดักชั่น คิดถึงคนดู แค่ชั่วโมงครึ่งนี้ให้ได้”

ครูไก่-หทัยสินธุ จากคณะละครมรดกใหม่ กล่าวกับนักแสดงก่อนเริ่มเทศกาลละครของนักเรียนชั้น ม.๒ เมื่อช่วงสายที่ผ่านมา (๒๕ ก.ย.๕๘) หลังจากนักเรียนทั้งสามห้องเข้าค่ายเรียนรู้การทำละครกับคุณครูจากคณะละครมรดกใหม่มาตลอดทั้งสัปดาห์

“มิตรภาพ” โดยนักเรียนชั้น ม.๒/๒

การแสดงเริ่มด้วยเรื่อง “มิตรภาพ” ที่จบลงด้วยความเศร้า โดยนักเรียนชั้น ม.๒/๒ ตามด้วยเรื่อง “สมชาย” ผู้ถูกครอบงำด้วยคำว่ารวยและความโลภ โดยนักเรียนชั้น ม.๒/๑ และปิดท้ายด้วยเรื่องราวความสัมพันธ์ของแม่ลูกกับ “Relation สายสัมพันธ์แม่ลูก” โดยนักเรียนชั้น ม.๒/๓….. ๓ เรื่อง ๓ รส ที่สร้างความประทับใจให้กับผู้ชมที่มาชมและให้กำลังใจนักแสดงกันจนล้นห้องประชุมเรือนรับอรุณ ทั้งเรื่องการแสดงที่สมบทบาทจนคนดูรู้สึกร่วมไปด้วย เรื่องราวที่ประทับใจ การทำหน้าที่ของตัวเอง และการช่วยเหลือส่งเสริมซึ่งกันและกันโดยไม่แบ่งแยกกลุ่มแยกห้อง นับเป็นการทำงานกลุ่มขนาดใหญ่ที่สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจและความเป็นหนึ่งเดียวของนักเรียนทั้งสามห้องได้อย่างชัดเจน

หลังจบการแสดงและงานเสวนา ครูช่าง-ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง กล่าวปิดท้ายเทศกาลละครในวันนี้ว่า

“ณ วินาทีนี้เราคงเห็นแสงปลายทางแล้วว่าเราจะสามารถชี้ชัดได้ว่า อันไหนมหรสพ อันไหนละคร ผมกล้าพูดได้เลยว่าที่เราได้ดูตะกี๊เป็นละครชัดๆ เป็นละครเพราะว่าครบองค์ประกอบซึ่งประกอบด้วย นักแสดง เรื่องราว และคนดู เท่านั้น ไม่ได้มีแบคสเตจ ถามว่าใครเขียนบท นักแสดง ใครทำแบคสเตจ นักแสดง ใครทำดนตรี นักแสดง ใครเล่าเรื่อง นักแสดง… แล้วที่สำคัญที่สุดคือเวลาที่นักแสดง เรื่องราว คนดู หล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียว สิ่งสำคัญสำคัญที่สุดคือเรารู้สึกในสิ่งเดียวกัน มหัศจรรย์”

“Relation สายสัมพันธ์แม่ลูก” โดยนักเรียนชั้น ม.๒/๓

“ละครทำให้รู้สึกในสิ่งที่เป็นลบก็ได้ เช่น เอ้า เราไปหาพระเจ้ากัน แล้วก็กินยาพิษตายทั้งหมู่บ้าน แบบนี้ก็ทำได้ หรือเวลาที่นักการเมืองหาเสียง เขาก็สามารถหลอกเราได้ เราเชื่อสนิทเลยนะว่าเขาเป็นคนดี เพราะฉะนั้นอยู่ที่ตัวเจตนาที่บริสุทธิ์ เราก็อดไม่ได้ที่จะทำให้เด็กของเราสร้างความรู้สึกที่ถูกต้อง ด้วยการพิจารณาที่ทุกข์ ให้เห็นให้ได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นทุกข์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีกระบวนการของอริยสัจ ๔ ครบถ้วน พอพิจารณาทุกข์ ทุกข์มีไว้เพื่ออะไร เพื่อดับมัน แล้วดับอย่างไร”

“ละครก็มีกระบวนนี้ครบหมดเลย แล้วจะไม่ให้ละครอยู่กับระบบการศึกษาได้อย่างไร แล้วก็ขอให้ชัดเจนว่าพอทำละครแล้ว เราต้องคอยตรวจวัด เพราะมันง่ายที่จะหลงไปในฟีลมหรสพ เพื่อตัวกูของกูนะ เพราะฉะนั้นจึงต้องไปประมาท กลับไปที่ปัจฉิมโอวาท อย่าอยู่ด้วยความประมาท เด็กๆ ก็ต้องไม่ประมาท ครูช่างชอบดนตรีมากที่จดจ่ออยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วก็รู้สึก แม้แต่มือออร์แกนมันจะฉมังขนาดไหน มันก็ลด บางครั้งรู้ตรงนี้สำแดงได้ ก็รู้กาลเทศะของมัน ไม่ใช่สำแดงตลอด เพราะฉะนั้นตรงนี้ต้องระวัง แล้วที่สำคัญที่สุดเลย มีแต่คนชม ยาพิษทั้งนั้นนะ”

โรงเรียนรุ่งอรุณขอขอบพระคุณคุณครูช่างและคุณครูจากคณะละครมรดกใหม่ทุกท่าน ที่มาประสิทธิ์ประสาทศาสตร์การละครให้กับนักเรียนรุ่งอรุณซึ่งต่อเนื่องมาเป็นปีที่ ๔ แล้ว และหวังว่าจะต่อเนื่องต่อไป เพราะเราต่างตระหนักชัดในคุณค่าของกระบวนการละคร ดังที่คุณครูไก่-หทัยสินธุ กล่าวในวันนี้ว่า “การแสดงคือการก้าวข้ามตัวเอง เรายอมลดตัวตนเพื่อเล่นให้เพื่อน เล่นเป็นบทนั้นบทนี้ ละครเป็นกระบวนการเรียนรู้การทำ