b1
บทความทั่วไป,  บันทึกรุ่งอรุณ

โครงงานตัวอย่าง

โครงงาน “บึงหญ้าป่าใหญ่”

  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โดยครูสุชาดา ทับมรินทร์ (ครูโอ๋)

 

จุดเริ่มต้น…บึงหญ้าป่าใหญ่ 

b1                    โครงงาน บึงหญ้าป่าใหญ่ ที่เด็ก ๆ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เรียนในเทอมที่ผ่านมาเกิดขึ้นจากความคิดที่คุณครูต้องการบูรณาการวิชาแบบองค์รวม ละคร เป็นบทสรุปแรกที่คุณครูคิดว่าน่าจะเหมาะสมที่สุด วรรณกรรมเยาวชน ถูกหยิบยกนำเสนอให้เป็นส่วนประกอบในการเรียน เกณฑ์การคัดเลือก ได้แก่ ๑. เป็นวรรณกรรมของไทยไม่ใช่เรื่องแปล ๒. เป็นเรื่องราวที่ดำเนินเรื่องด้วยเด็กวัยใกล้เคียงเด็กประถม ๖ และ ๓. มีความงามในด้านภาษา สนุก น่าติดตาม วรรณกรรมเรื่องผีเสื้อและดอกไม้ ถูกเสนอชื่อเข้ามาเป็นเล่มแรก เมื่อพิจารณาแล้วพบว่ายังไม่เหมาะสมกับวัยของเด็กประถม ๖  วรรณกรรมเล่มแล้วเล่มเล่าถูกเสนอชื่อเข้าประกวดเพื่อให้คุณครูเลือกสรร สุดท้ายมาลงตัวที่วรรณกรรมเยาวชน เรื่อง “บึงหญ้าป่าใหญ่” ของอาจารย์เทพศิริ  สุขโสภา

บึงหญ้าป่าใหญ่ วรรณกรรมที่คุณครูเห็นพ้องกันว่า อ่านแล้วได้รู้จักการใช้ภาษาที่สละสลวย การบรรยายในแต่ละบทมีความละเอียด อ่านแล้วเห็นภาพที่ผู้เขียนต้องการสื่อ เนื้อเรื่องแสดงถึงความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกันไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์หรือพืช เห็นถึงความรักที่มีให้กันระหว่างเด็ก ๒ คน

ทำแผนการสอน

p6-9                      ครูเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ของการทำเป็นละคร โดยนำวรรณกรรมบึงหญ้าไปปรึกษาผู้มีประสบการณ์ทางด้านละครปรากฏว่าคำตอบที่ได้ คือ ยาก ไม่สนับสนุนให้ทำ มันไม่น่าจะเป็นไปได้ วรรณกรรมเรื่องนี้ไม่เอื้อต่อการนำมาทำเป็นละคร ครูเริ่มเปิดมุมมองใหม่ โดยการตัดสินใจตัดละครออกไป ดึงบึงหญ้าป่าใหญ่มาเป็นแกนหลักแทน ครูย้อนกลับมามองถึงเนื้อหาของภาษาไทยที่เด็กจะได้เรียนรู้ ครูต้องการให้เด็กฝึกเขียนและทบทวนเรื่องคำ เรื่องพยางค์ ซึ่งตัวบึงหญ้าฯเอง ก็ใช้การพรรณนาอยู่แล้ว ครูจึงตั้งเป้าว่าหากจะนำเด็กไปสู่การเขียนที่สามารถพรรณนาได้ก็คงจะไม่ยาก

ภาคปฏิบัติ

p6-12                     เมื่อนำมาสอนจริงปัญหาที่เกิดขึ้นของโครงงานคือ การอ่าน เด็กส่วนใหญ่ไม่ชอบอ่านหนังสือ และตัวบึงหญ้าฯเองก็เป็นตัวหนังสือล้วนๆ แทบจะไม่มีภาพประกอบ ทำให้เด็กที่ไม่ชอบอ่านหนังสืออยู่แล้วยิ่งไม่อยากอ่าน และเด็กกลุ่มนี้มีปริมาณค่อนข้างมาก ครูทำการปรับแผนการสอนโดยการนำกิจกรรมต่างๆ มาให้เด็กปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านแล้วเล่าสู่กันฟังในห้อง การย่อความของบทที่อ่านจบ วาดรูปฉากของบทที่อ่านจบ วาดรูปลักษณะของตัวละคร การทำละครวิทยุ แบ่งตอนทำละคร และระหว่างที่สอนครูต้อย (ครูใหญ่โรงเรียนประถม) เป็นผู้จุดประกายให้ครูมองเห็นถึงความละเอียดที่เกิดขึ้นในงานเขียน และย้อนมองความละเอียดในการทำงานของตน

ผลที่เกิด  

p6-13                     กิจกรรมต่างๆ ที่เด็กปฏิบัติ นอกเหนือจากความรู้ทางด้านภาษาไทย ความสนุกสนานที่ได้รับจากการอ่านวรรณกรรมแล้ว สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัด ก็คือความละเอียดในตัวเด็ก ซึ่งสังเกตได้จากงานเขียน ไม่ว่าจะเป็นการย่อความ การวาดรูป การเขียนลักษณะของตัวละคร เด็กมีความละเอียดมากขึ้น และสิ่งที่ได้รับนอกเหนือจากนั้นก็คือ ความกล้าแสดงออก เด็กจะมีมากขึ้น เด็กที่ปิดตัวเองไม่ชอบร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ก็มีการเปลี่ยนแปลง คือ เปิดตัวเอง มีความสนใจคนรอบข้าง เพื่อนทำอะไรก็พยายามเข้ามาช่วย ซึ่งตรงนี้เป็นจุดที่คุณครูเองดูจะชื่นชมในตัวโครงงานเป็นพิเศษ

การเดินทางของหยดน้ำ

เมื่อถึงช่วงเวลาของหยดน้ำแห่งความรู้ ครูพาเด็กๆ ทำความเข้าใจถึงจุดประสงค์ของงานหยดน้ำฯ เราทำเพื่ออะไร และจะนำเสนอแบบไหนดี ข้อดี-ข้อเสียของสิ่งที่จะเสนอ เด็กๆ ตกลงว่าจะนำเสนอในรูปแบบของละคร และมีการจัดนิทรรศการ เมื่อตกลงกันได้แล้ว ครูให้เด็กๆ ระบุลักษณะงานที่จะนำไปสู่ผลของงานฝ่ายต่างๆ จะถูกระบุขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายฉาก ฝ่ายเสื้อผ้า ฝ่ายเขียนบท ฝ่ายนักแสดง และฝ่ายจัดนิทรรศการ เด็กๆ เข้าช่วยงานตามลักษณะงานที่ตนถนัด

วันงานหยดน้ำแห่งความรู้

วันนี้เด็ก ๆ ตื่นเต้นเป็นพิเศษ เป็นวันที่พวกเขาจะแสดงองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาสู่สายตาผู้ชม ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง ครู พี่ๆ หรือน้องๆ เมื่อถึงเวลาผู้ชมทยอยมาร่วมงาน thai_p6_1เผลอแป๊บเดียวก็เต็มห้องประชุมรพินทร เรียกว่า ผู้ชมในวันนั้นดูจะอุ่นหนาฝาคั่งเป็นพิเศษ เด็กๆ เปิดงานด้วยความรู้ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยทำเป็นการ์ตูนแอนนิเมชั่นกล่าวสวัสดีและต้อนรับผู้ชมเข้าสู่ช่วงของการชมละคร ระหว่างที่ชมละคร เชื่อว่าในใจหลายๆ คนจะต้องรู้สึกชื่นชมในความพยายามของเด็ก ต้นไม้ที่ประกอบฉาก เด็ก ๆ นำความรู้จากการเรียนศิลปะการทำ เปเปอร์มาเช่มาใช้ การประดับฉากด้วยผ้ามัดย้อมฝีมือพวกเขา

เสื้อผ้าของนักแสดงล้วนมาจากความคิดสร้างสรรค์ การนำเศษผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย มาปะแต่งเข้ากับผ้าชิ้นใหญ่ดูลงตัวและสวยไปอีกแบบ ยิ่งเมื่อผสมผสานกับความสามารถในการแสดงแล้วยิ่งสะกดสายตาผู้ชมให้หยุดอยู่กับละครที่แสดงอยู่ตรงหน้าได้อย่างน่ามหัศจรรย์

ในส่วนนิทรรศการที่จัดในวันนั้น เด็กๆ มีโจทย์ให้ผู้เข้าร่วมเล่นมากมาย แถมตบท้ายด้วยรางวัลสำหรับคนเก่งที่ตอบคำถามถูกด้วยน้ำที่ผสมจากฝีมือพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นนำส้ม น้ำโอวัลติน งานวันนั้นจบลงพร้อมกับสายฝนที่โปรยปรายลงมา แม้ว่าเทอม ๑ จะสิ้นสุดไปแล้ว แต่เชื่อว่าบึงหญ้าป่าใหญ่ยังคงอยู่ในใจเด็ก ๆ เพราะช่วงปิดเทอมครูฝากบทที่ ๗-๑๐ ไปให้เด็กอ่านแก้เหงาที่บ้าน และเมื่อตอนต้นเทอมเข้าสู่การเรียนในเทอม ๒ ครูนำบึงหญ้าป่าใหญ่มาเป็นตัวเชื่อมเพื่อพาเด็กๆ เข้าสู่เนื้อหาในโครงงาน “มนุษย์กับธรรมชาติ” ด้วย


วิชามานุษย์และสังคมศึกษา  

โครงงาน “ชาวนาไทย ถิ่นอีสาน”

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยครูเปรมปิติ  ว่องไพฑูรย์ (ครูปุ๊)

แนวคิดสำคัญ

soc_m4_2           วัฒนธรรมเปรียบเหมือนภาพสะท้อนพัฒนาการของมนุษย์เป็นความชาญฉลาดที่แสดงให้เห็นถึงปัญญาของคนในชุมชน ก่อให้เกิดเป็นสังคม วิถีชีวิต จารีต ประเพณี ภาษา หรือแม้กระทั่งความเชื่อที่เป็นกุศโลบายส่งผลให้คนเราได้นำมาใช้เป็นวิถีปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินชีวิตไปอย่างถูกต้องตามธรรมนองครองธรรม

ชาวนาไทย ถิ่นอีสาน

subject02           การเรียนแบบบูรณาการในวิชาภูมิปัญญา ภาษาไทย และมานุษย์ และ สังคมศึกษา ของเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนรุ่งอรุณ จึงมุ่งไปที่การเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์ ให้เห็นความหมายอย่างถ่องแท้ถึงวิธีคิด และวิธีก่อร่างสร้างวัฒนธรรมด้วยปัญญา และหาความรู้จากสังคมท้องถิ่นที่ยังคงฝังรากยั่งยืนให้เด็กนักเรียนได้ค้นหา สัมผัสและเรียนรู้จากสิ่งเหล่านั้น             โครงงาน ชาวนาไทย ถิ่นอีสาน ถือเป็นการเรียนรู้ที่นำเอาความเจริญงอกงามของวัฒนธรรมจากสังคมแถบถิ่นอีสานมาเป็นกรณีศึกษา ภูมิภาคที่มีความเป็นมายาวนาน เอกลักษณ์อันโดดเด่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน วิถีชาวบ้าน ภาษาถิ่น การละเล่น ล้วนเป็นเรื่องที่ครูเจ้าของโครงงานและที่ประชุมได้พิจารณาแล้วว่า สามารถนำมาผนวกเป็นโครงงานให้นักเรียนได้ทำการวิเคราะห์ศึกษา ภายในระยะเวลา ๑ ภาคเรียน

คิดอย่างเป็นกระบวนการ

ความหลากหลายในภูมิปัญญาอีสาน ถูกจับมารวมกันเป็นเนื้อเดียว โดยการเรียนรู้ผ่านเนื้อหาในเรื่องของ “การทำนาปลูกข้าว” ด้วยเหตุที่การปลูกข้าวเป็นวิถีชุมชน เป็นเรื่องของการทำมาหากิน เรื่องเศรษฐศาสตร์ สังคม ศาสนา และในกระบวนการผลิตข้าวยังเป็นเรื่องของภูมิปัญญา มีพัฒนาการลองผิดลองถูก มีการสังเกตธรรมชาติ ทดสอบพันธุ์ข้าว และในตัวเมล็ดข้าวก็ยังมีวิถีชีวิต พิธีกรรม วัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งจะเป็นภาพสะท้อนความคิดของมนุษย์ และเป็นสิ่งที่แสดงได้ถึงปัญญาของมนุษย์             ส่วนของภาษา ครูได้กำหนดวัตถุประสงค์ให้เด็กเกิดความรู้สึกเปลี่ยนแปลงต่อภาษาถิ่นอีสาน และมีทัศนคติที่ดีต่อภาษาท้องถิ่น จวบจนวันหนึ่งที่พวกเขาจะมีโอกาสได้รับประสบการณ์จริงจากพื้นที่ เขาก็จะได้รู้และเข้าใจด้วยตัวเองว่า ภาษาถิ่น สามารถสร้างมิตร สร้างความสัมพันธ์ สร้างความรู้สึกไว้วางใจและสร้างผลให้เขาได้รับความเอ็นดูจากคนในท้องถิ่นนั้นๆ

แผนภาพความคิดหลัก

map1

 

รายละเอียดแผนภาพความคิดหลัก

 airro01

มหัศจรรย์พันธุ์ข้าวคำอีสาน

          การศึกษานอกสถานที่ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี เพื่อวิเคราะห์ว่าในการทำการเกษตรแต่ละประเภทนั้น เงื่อนไข และปัจจัยที่เกษตรกรต้องคำนึงคืออะไรบ้าง

 airro02

ไทอีสานปลูกข้าว
วรรณกรรม

           วิเคราะห์บริบททางสังคม เช่น สภาพพื้นที่ ภูมิประเทศ การทำมาหากิน ประเพณี พิธีกรรม และอื่น ๆ ด้วยการศึกษาวรรณกรรมเรื่อง “ลูกอีสาน” ของคุณคำพูน บุญทวี นิทาน “พญาคันคาก” นักเรียนจะได้รับรู้ทั้งเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ บทเรียนสอนชีวิต ข้อคิด และคุณธรรม จากเหตุการณ์เหล่านั้น หลังจากนั้น นักเรียนจะนำเสนอความเข้าใจและประมวลความรู้ด้วยการเขียนรายงาน หรือ หนังสือ

 airro03

ข้าวไทยไปนอก

           นักเรียนศึกษาวิถีชีวิตชุมชน ณ สถานที่ หมู่บ้านมะพริก และหมู่บ้านหนองตาเพ็ง จังหวัดบุรีรัมย์ วิเคราะห์ความเป็นอยู่เก็บข้อมูลความรู้ นำมาประมวลถ่ายทอดสู่ชุมชนรุ่งอรุณด้วยการเบิกฟ้าหน้าเสาธง และการสร้างภาพยนตร์พื้นบ้านอีสานเรื่อง “ปอบ”

 airro04

หยดน้ำแห่งความรู้

          จัดงานวัดเพื่อนำเสนอการละเล่นพื้นบ้านชาวไทยอีสาน ประมวลภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวอีสานเพื่อสร้างความภูมิใจในความเป็นไทย

ตัวอย่าง กิจกรรมการเรียนรู้ที่น่าสนใจและการศึกษาภาคสนาม ที่จังหวัดบุรีรัมย์

M4_6
พิธีกรรมท้องถิ่น
M4_3การไถแปรเพื่อเตรียมพื้นที่ดินก่อนการ
ลงมือปลูกข้าว
M4_2ขุดพรวนดินบริเวณที่ไถไม่ถึง
soc_m4_6
คัดเลือกเมล็ดข้าว
soc_m4_7
งานหยดน้ำแห่งความรู้ฉายภาพยนตร์กลางแปลงการละเล่นพื้นบ้าน รำวง
soc_m4_8
งานหยดน้ำแห่งความรู้ขายอาหาร งานวัด

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.